หน้าแรก << คลิก !!

ตัวอย่างผลงาน
Contact
Webmaster
 


วิธีป้องกันรถหาย

ออกรถใหม่ หากท่านมีรถใหม่ ควรติดตั้งอุปกรณ์ กันขโมยเพิ่มเติม เช่น เปลี่ยนกุญแจใหม่ ติดตั้ง ชุดล็อคเกียร์ ล็อคครัช ล็อคพวงมาลัย และ สัญญาณกันขโมย หรือติดตั้ง GPS ด้วยก็ได้ คนร้ายชอบขโมยรถใหม่ๆ เนื่องจาก ขายต่อได้ง่าย มีราคาสูง โดยเฉพาะ บรรดารถ ยอดนิยมต่างๆ อาทิ รถปิคอัพ รถขับเคลื่อน 4 ล้อ และรถเก๋งรุ่นใหม่ๆ เมื่อเจ้าของรถได้รถมาใหม่ มักยัง ไม่ติดตั้งอุปกรณ์กันขโมย เมื่อจอดไว้ใน ที่ไม่ปลอดภัย คนร้ายฉวย โอกาส โจรกรรมรถ ไปได้โดยง่ายๆ

ซื้อรถมือสอง เมื่อท่านจะ ตกลงซื้อรถเก่า จากเจ้าของ หรือจากผู้ขาย ตามเต็นท์ขายรถ ต้องขอ หมายเลขเครื่อง หมายเลขตัวถัง และสำเนา ทะเบียนรถ มาตรวจสอบ กับทะเบียนรถ ในท้องถิ่นที่ รถนั้นจดทะเบียน ไว้เสียก่อน เพราะอาจเป็นรถ ที่ไม่ถูกต้อง หรือขโมย มาสวมทะเบียน เมื่อซื้อรถมาแล้ว ควรต้องเปลี่ยนกูญแจ และติดตั้งอุปกรณ์ กันขโมยเช่นเดียวกับ รถใหม่ พึงระมัดระวัง ระลึกอยู่เสมอว่า คนร้ายจ้องรอโอกาส ขโมยรถของ ท่านอยู่

จอดรถต้องระวัง การจอดรถไม่ว่าจะจอดในที่ ส่วนบุคคล ที่สาธารณะ แม้จอดทิ้งไว้ ระยะสั้นหรือ นานเพียงใด เพื่อไปทำธุระ หรือทำงาน ก็ตาม ไม่ควร จอดไว้ห่างไกล ควรมีคนเฝ้า ดูแลหรือยาม รปภ. ก่อนทิ้งรถ ควรไปตรวจสอบ การล็อคกุญแจประตู และใช้ อุปกรณ์ กันขโมย ให้ครบ ถ้วน อย่าทิ้งทรัพย์สิน สิ่งของมีค่า ไว้ในรถ ล่อตาคนร้าย บางครั้งรถ ไม่หายแต่ ของหาย

จอดรถในบ้าน-นอกบ้าน
- จอดรถในบ้านต้องเอาท้ายรถออกนอกบ้าน ล็อครถและใฃ้อุปกรณ์กันขโมย
- ติดตั้งโคมไฟให้ส่องสว่างให้มองเห็นทั้งในและนอกรั้วบ้านหากจำเป็นต้องจอดรถ นอกบ้าน ควรจอดชิดขอบทาง หน้าบ้าน ให้มอง เห็นได้ ล็อคกุญแจและอุปกรณ์กันขโมย
- ควรร่วมมือกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงช่วยกันจ้างยามรักษาความปลอดถัย คอยดูแล และให้ทุกคนในบ้านช่วยกันดูแล ซึ่งกันและกันด้วย

หากมีความจำเป็นต้องจอดรถยนต์ไว้บนถนนหน้าบ้านควร มียาม รักษาความ ปลอดภัย เผ้าดูแลรถ ตลอดเวลา โดยประสาน ความร่วมมือ กับเพื่อนบ้าน ใกล้เคียง ที่ใช้รถ และจอดรถไว้ในลักษณะ เดียวกัน เพื่อช่วยเหลือกัน ในเรื่องค่าจ้าง ของยามรักษา ความปลอดภัย

ข้อควรระวังในการจอด
- อย่าจอดรถทิ้งไว้ค้างคืนบนถนน ไม่ว่าจะมีเครื่องป้องกันการโจรกรรมรถชนิดใดก็ตาม
- อย่าทิ้งกุญแจรถไว้ที่รถ เมื่อจอดรถลงไปทำธุระไม่ว่ากรณีใดก็ตาม

ระวังการนำรถไปซ่อม-รับบริการ
- แก็งค์คนร้ายอาจจะเป็นช่างซ่อมรถหรือผู้ให้บริการตามอู่ซ่อมรถ หรือสถานบริการบำรุงรักษารถ มีความชำนาญระบบกลไกของรถ อาจลักลอบทำกุญแจผี หรือทำลายระบบกันขโมย แล้วติดตามไปโจรกรรมรถของท่านในภายหลัง จึงควรระมัดระวัง
- ควรอยู่ดูแลการซ่อมหรือการบริการอื่นๆ อย่างใกล้ชิด
- หากจำเป็นต้องทิ้งรถไว้ให้ซ่อม หรือบำรุงรักษา จะต้องเป็น ผู้คุ้นเคยหรือ ไว้ใจได้เท่านั้น

กุญแจรถ เรื่องสำคัญ มีรถบางชนิด ใช้กุญแจ รถดอกเดียวกัน สำหรับเปิด ประตู ติดเครื่องยนต์ เปิดลิ้นชัก และฝาน้ำมัน ดังนั้นเมื่อ ฝาน้ำมันหาย อาจเป็นไป ได้ว่าคนร้าย ได้นำไปเพื่อ ทำแบบ สร้างกุญแจปลอม สำหรับ นำมาใช้ใน การโจรกรรม ฉะนั้น หากฝาถังน้ำมันหาย ควรรีบเปลี่ยนกุญแจ ที่ใช้กับรถ เสียใหม่ โดยใช้ กุญแจที่ใช้ เฉพาะแห่งเท่านั้น และเพิ่มความ
ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ระวัง การใช้อุปกรณ์กันขโมย เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ กันขโมยแล้ว การใช้ อุปกรณ์ ต้องเก็บ เป็นความลับเฉพาะ ผู้ที่ไว้ใจได้ เพราะอุปกรณ์บางอย่าง ใช้รหัสเฉพาะ หรือ สัญญาณรีโมท การไปจอกรถ ในที่ต่างๆ จึงควรระวัง คนร้าย อาจคอย สังเกตวิธีการ ใช้อุปกรณ์ กันขโมย ของท่านและ ติดตามไปหาโอกาส โจรกรรมรถ ของท่าน ในภายหลัง

รถคุณถูกติดตามจะทำอย่างไร กรณีสังเกตรู้ว่า มีผู้ขับรถ ติดตาม รถท่านให้สันนิษฐานว่า เป็นคนร้าย ไว้ก่อน เพราะอาจ ตามไป ฉวยโอกาส ขโมยรถ เมื่อท่าน จอดรถ ทิ้งไว้ ในที่ไม่ปลอดภัยหรือ อาจประทุษ ร้ายต่อ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของท่าน ดังนั้น เมื่อรู้ว่า ถูกติดตาม จึงควรป้องกัน โดยพยายาม ขับรถ เข้าไปใน เขตชุมชน ขอความ ช่วยเหลือ
และแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ที่ใกล้ที่สุด โดยด่วน

จดจำตำหนิรูปพรรณ ท่านควรจดจำ ข้อมูล รายละเอียด เกี่ยวกับรถของท่าน ไว้ให้มากที่สุด โดยเฉพาะ ตำหนิ รูปพรรณ พิเศษอื่นๆ โดยถ่าย เอกสาร ทะเบียนรถ เก็บไว้ รวมทั้ง ถ่ายรูปรถ ของท่าน ให้ปรากฏรอยตำหนิ พิเศษ เก็บรักษา ไว้เป็น หลักฐาน กรณีรถหาย จะได้นำมาแจ้งให้ตำรวจ ตรวจสอบ สกัดจับ ได้อย่างรวดเร็ว ทันการณ์ หากรถ ของท่าน ยังไม่มีตำหนิ ควรทำขึ้นไว้ใน จุดที่ผู้อื่น ไม่สามารถ สังเกตเห็น และจดจำ ไว้ให้แม่นยำ

รถจักรยานยนต์ต้องล็อคล้อล่ามโซ่ เนื่องจากมีสถิติ รถจักรยานยนต์ หายมากที่สุด เพราะคนร้าย ขโมยไปได้ง่าย หรือยกขึ้น รถอื่น ได้สะดวก การจอด รถจักรยานยนต์ นอกจากจะ ล็อคกุญแจคอ กุญแจล้อแล้ว ควรล่ามโซ่ ไว้ให้แข็งแรงด้วย และอย่า จอดทิ้งไว้ ในที่เปลี่ยว หรือที่ลับตา


รถหายต้องทำอย่างไร ?
รถหาย ให้รีบแจ้งรายละเอียด แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ ทราบโดยเร็ว หรือโทรหมายเลขพิเศษ "1192" (ศปร.ตร.) ตลอด24ชั่วโมง เพื่อความรวดเร็ว ในการติดตาม สกัดจับคนร้าย และเพื่อความรวดเร็วในการกระจายข่าวสาร, ข้อมูลของรถ ที่ถูกโจรกรรม ไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง คือ ตำรวจทางหลวง, ตำรวจตระเวนชายแดน, ตำรวจภูธรภาค 1-9, กองบัญชาการตำรวจนครบาล, สถานีตำรวจภูธรตามแนวชายแดน, กองกำลังบูรพา, กองกำลังป้องกันชายแดน จันทบุรีและตราด


ป้องกันภัยโจรกรรม-ลักทรัพย์ในที่พักอาศัย

  • ไม่ทิ้งบ้านไว้โดยไม่มีคนดูแลเป็นเวลานานๆ
  • ก่อนออกจากบ้าน ต้องปิดประตู-หน้าต่างใส่กลอน ล็อกกุญแจที่แข็งแรง กุญแจที่สายยูสั้น จะดีกว่าสายยูแบบยาว (เลื่อยง่าย)
  • ผูกสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เมื่อต้องออกจากบ้าน ให้ฝากเพื่อนบ้านช่วยดูแล ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในบ้าน
  • ต้องไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่าที่อยู่ติดกับที่พักอาศัย มีต้นไม้ใหญ่หรือพงไม้ขึ้นสูง เพราะคนร้ายอาจใช้เป็นที่กำบังเพื่อเข้ามาโจรกรรม หรือใช้เป็นที่ซ่อนตัวเพื่อหลบหนี
  • ในเวลากลางคืน ควรเปิดไฟฟ้าให้มีแสงสว่างทั่วบริเวณบ้าน
  • เลี้ยงสุนัข ช่วยเตือนภัย อย่าลืมหัดสุนัข ไม่ให้มันกินหรือเลียของจากคนแปลกหน้า คงเคยได้ยินเกี่ยวกับโจรโฉด ที่ชอบเบื่อยาน้องหมา หมาดุอยู่ดีๆ ก็หลับไปไม่ตื่น
  • เมื่อมีผู้โทร.มาถามว่า “มีใครอยู่บ้านบ้างหรือไม่” ให้ตอบว่า “มีอยู่กันหลายคน”
  • ควรเล่ากลอุบายต่างๆ ของคนร้าย ให้คนรับใช้หรือทุกคนในบ้านทราบ กระตุ้นเตือนบ่อยๆ ไม่ให้หลงเชื่อเล่ห์เหลี่ยมที่มาได้ทุกรูปแบบ
  • ติดตั้งสัญญาณแจ้งภัยระบบไซเรน เพราะคนร้ายมักกลัวเสียงดัง
  • เมื่อไม่อยู่บ้านควรเปิดไฟระบบ ตั้งเวลาปิด-เปิดทิ้งไว้บ้าง เพื่อให้คนร้ายเข้าใจว่ามีคนอยู่
  • ก่อนเปิดประตู ต้องตรวจดูให้แน่ว่าเป็นคนที่ท่านหรือคนในบ้านรู้จักหรือคุ้นเคยกันแน่ๆ
  • ตรวจสอบบัตรของช่างซ่อม ตัวแทนบริษัทต่างๆ ทุกครั้ง อย่ายินยอมให้เข้าบ้านถ้าไม่แน่ใจ
  • จดจำตำหนิรูปพรรณคนแปลกหน้า ทะเบียนรถที่ผิดสังเกต
  • ให้หยุดรับหนังสือพิมพ์ นิตยสาร กรณีที่จะไม่มีคนอยู่บ้านหลายวัน หนังสือพิมพ์และกองนิตยสารที่ก่ายกองหน้าบ้าน ทำให้ผู้ทุจริตสังเกตได้ว่าไม่มีคนอยู่บ้าน
  • ต้องมีสำเนาบัตรประชาชน รูปถ่าย และรายละเอียด ประวัติส่วนตัวของลูกจ้าง คนงาน คนรับใช้ทุกคนในบ้าน
  • เมื่อทราบเหตุ หรือรู้ว่ามีคนร้ายเข้าบ้าน อย่าคิดจับตัวคนร้ายด้วยตัวเอง ควรขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน รปภ. หรือแจ้งตำรวจให้จับกุม
  • เมื่อเกิดเหตุแล้ว ห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งของ ห้ามบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เข้าไปยุ่มย่าม จนกว่าจะมีการตรวจสอบ และจัดเก็บพยาน-หลักฐานเรียบร้อยแล้ว


ป้องกันภัยโจรกรรมตู้เซฟ

  • ไม่ทิ้งบ้านไว้โดยไม่มีคนดูแลเป็นเวลานานๆ ไม่บอกสิ่งของภายในตู้เซฟกับใคร
  • ห้ามบอกรหัสกับคนอื่นเด็ดขาด และห้ามฝากกุญแจตู้เซฟไว้กับคนอื่นเช่นกัน และควรซื้อตู้เซฟที่มีน้ำหนักมากๆ
    เพราะการเคลื่อนย้ายจะทำได้ยาก หรือเชื่อมติดกับโครงเหล็ก แล้วฉาบปูนทับอีกชั้นก็ได้
  • ผูกสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เมื่อต้องออกจากบ้าน ให้ฝากเพื่อนบ้านช่วยดูแล ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในบ้าน
  • ต้องไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่าที่อยู่ติดกับที่พักอาศัย มีต้นไม้ใหญ่หรือพงไม้ขึ้นสูง เพราะคนร้ายอาจใช้เป็นที่กำบังเพื่อเข้ามาในบ้านแล้วโจรกรรมของในตู้เซฟได้